วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

สาระน่ารู้

อาหารเช้ากับการเรียน
คนส่วนใหญ่นิยมกินอาหารวันละ 3 มื้อ แต่บางคนอาจจะกินเพียงวันละ 2 มื้อ
หรือมากกว่านี้ ในคนที่กินอาหารเพียง 2 มื้อ มักจะงดเว้นมื้อเช้า ด้วยเหตุผลต่างๆกัน
เช่น ต้องตื่นแต่เช้าเร่งรีบไปเรียนหรือทำงาน ใช้เวลาในการเดินทางนาน ไม่มีเวลาพอ
สำหรับการเตรียมอาหารเช้า และบางคนงดกินอาหารเช้าด้วยเหตุผลที่ต้องการลด
น้ำหนัก การงดรับประทานอาหารมื้อเช้า จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อาจทำให้ร่างกายได้รับ
พลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากกระเพาะ
อาหารของคนเรามีขนาดความจุที่จำกัดสำหรับการกินอาหารแต่ละครั้งโดยเฉพาะ
ในเด็กวัยเรียนซึ่งมีขนาดของกระเพาะอาหารเล็กกว่าผู้ใหญ่ ในขณะที่ความต้องการ
พลังงานและสารอาหารต่อหน่วยน้ำหนักมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นวัยที่ยังมีการ
เจริญเติบโต จึงจำเป็นต้องกินอาหารอย่างน้อย 3 มื้อ

โดยปกติคนเราจะพักผ่อนด้วยการนอนหลับวันละประมาณ 8-12 ชั่วโมง ในช่วง
เวลานี้การใช้สารอาหารต่างๆ จะยังดำเนินไปตลอดเวลา ปริมาณสารอาหารต่างๆ
โดยเฉพาะระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงหลังจากที่เราพักผ่อนนอนหลับ จึงจำเป็นต้อง
กินอาหารเพื่อเพิ่มระดับสารอาหารในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติสำหรับการทำ
กิจกรรมต่อไป การงดไม่กินอาหารเช้าในเด็กนักเรียน ระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำจึงพบว่า
ในช่วงสายของวันเด็กจะรู้สึกหิว กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการเรียนขาดความฉับไว
ในการคิดคำนวณหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เกิดการผิดพลาดได้มากกว่า และผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนจะด้อยกว่าเด็กที่รับประทานอาหารเช้า ทั้งนี้เนื่องจาก สมองของคนเรา
ต้องการน้ำตาลกลูโคสเพื่อไปหล่อเลี้ยง นอกจากนี้เด็กจะไม่มีกำลัง สำหรับการเล่นกีฬา
หรือออกกำลังกายอีกด้วย อาหารเช้าจึงเป็นมื้อที่มีความสำคัญ ยิ่งสำหรับเด็กวัยเรียน
และวัยรุ่น อาหารเช้าที่เหมาะสมควรประกอบด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูงพอควรทั้งนี้เพื่อ
คงสภาวะระดับน้ำตาลในเลือดของเด็กให้สูงอยู่เป็นเวลา ที่ยาวนาน จะทำให้เด็กมี
ความสามารถในการเรียนรู้และประกอบกิจกรรม ที่ต้องใช้กำลังงานได้ดีขึ้น
ข้อมูลจาก...กระทรวงสาธารณะสุข

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา

รายวิชา การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ 213240
บทที่3 ระบบสารสนเทศและการตัดสินใจ
เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-learning)
การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E-learning การเรียนรู้แบบออนไลน์เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย สำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวดังนี้
1) เนื้อหาของบทเรียน
2) ระบบบริหารการเรียน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน เราเรียกระบบนี้ว่าระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management System : LMS) ดังนั้นระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร
3) การติดต่อสื่อสาร การเรียนแบบ E-learning นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภทReal-time ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mail
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และ/หรือ ทั้งภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน
วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books )
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต สำหรับเครื่องมือที่จำเป็นต้องมีในการอ่านหนังสือประเภทนี้ก็คือฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออแกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล E-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะไฟล์ของ E-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง E-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
ในปัจจุบันสังคมไทยเราอยู่ในยุคข่าวสาร ทำให้มีการกระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่าง ดังนั้นห้องสมุดจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านบริการจะมีบทบาทที่เด่นชัด ความต้องการของผู้ใช้บริการจึงเป็นแรงผลักดันให้ห้องสมุดเปลี่ยนการให้บริการงานห้องสมุดมาเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น
1) ระบบที่สามารถให้บริการและตรวจสอบได้
2) ระบบบริการยืม - คืน ทรัพยากรด้วยแถบรหัสบาร์โค้ด
3) ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร
4) ระบบตรวจเช็คสถิติการใช้บริการห้องสมุด
5) ระบบตรวจเช็คสถิติการยืม - คืนทรัพยากร
6) การสำรวจทรัพยากรประจำปี
7) การพิมพ์บาร์โค้ดทรัพยากรและสมาชิก
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://daowroong.igetweb.com/index.php?mo=3&art=94041

เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดต่างๆ(บรรยายโดย นศ.BM)

นส. เตือนใจ ราณะเรศ "Wimax"ดูบล็อค

นส. ทรัสตี สุวรรณทา "3G"ดูบล็อค

นายภูริชญ์ ลัฐิกาพงศ์ "Bluetooth"ดูบล็อค

นายวรงกรณ์ อารีย์ "CDMA"ดูบล็อค

นายสุขสันต์ เชียงการ "GSM"ดูบล็อค

นส. สุจิตรา สามติ๊บ "Microwave"ดูบล็อค

นส. สุพิชฌาย์ บินซอและฮ์ "CDMA"ดูบล็อค

นส. ศิริกัญญา วงศ์ประสิทธิ์ "Cellular"ดูบล็อค

นายกิติพงษ์ ชัยยะ "Wimax"ดูบล็อค

นส. อัญชลี ทิพย์ปลูก "WiFi"ดูบล็อค

นส. ดาราวรรณ แก้วเอี่ยม "Satellite"ดูบล็อค

นายวนากรณ์ เหมบุตร "Optic Fiber"ดูบล็อค

http://thaicursor.blogspot.com  getcode

Wireless system

Wireless system
Satellite (ดาวเทียม)

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
พิจิตร, เอเชีย, Thailand
เอกการจัดการธุรกิจ